เต็ดตรา แพ้ค เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนในประเทศไทยและระดับโลก

รายงานความยั่งยืนฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 25) เผยความคืบหน้าของบริษัทฯ
ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงกว่า 20% ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ปี 2562

Mitigating climate impact

กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 31 กรกฎาคม 2567 – เต็ดตรา แพ้ค ผู้นำด้านโซลูชันการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก เปิดเผยรายงานความยั่งยืนฉบับที่ 25 ประจำปี 2566 เพื่อนำเสนอความความก้าวหน้าที่ ได้ดำเนินการตามวาระความยั่งยืนที่กำหนดไว้ โดยรายงานได้ระบุกรอบแนวทางที่เชื่อมโยงกันใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ ระบบอาหาร, การหมุนเวียนทรัพยากร, สภาพอากาศ, ธรรมชาติ และความยั่งยืนทางสังคม เต็ดตรา แพ้ค ยังเน้นย้ำถึงบทบาทของความร่วมมือในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในระบบอาหารโลก โดยในส่วนของประเทศไทย เต็ดตรา แพ้ค ให้ความสำคัญลำดับแรกในการจัดเก็บรวบรวมและรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้ว ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของเรา

รายงานความยั่งยืนฉบับล่าสุด1 ยังเผยถึงความคืบหน้าของบริษัทฯตั้งแต่ปี 2562  ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า2 ได้มากกว่า 20% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตได้กว่า 47% ซึ่งผลที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่าการทำงานของเต็ดตรา แพ้ค เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในการดำเนินงานของบริษัทภายในปี 25733  และสอดคล้องกับความมุ่งมั่นระยะยาวของบริษัทฯ ในการทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ และมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าภายในปี 25934  

อีกหนึ่งความสำเร็จครั้งสำคัญในปีที่ผ่านมา คือ การเปิดตัวกล่องเครื่องดื่มแบบปลอดเชื้อที่มีชั้นปกป้องทดแทนอะลูมิเนียมที่ผลิตจากเยื่อกระดาษ ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 33%5 หรือหนึ่งในสามเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม ถือเป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จที่เข้าใกล้เป้าหมายของเต็ดตรา แพ้ค ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารที่ยั่งยืนที่สุดในโลก6 การพัฒนาดังกล่าวเป็นผลมาจากการลงทุนไปกว่า 100 ล้านยูโร หรือกว่า 3,900 ล้านบาท ในการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในปี 2566 โดยเต็ดตรา แพ้ค ยังมีแผนในการลงทุนในทุกๆ ปีด้วยงบประมาณเดียวกันตลอดช่วงห้าถึงสิบปีข้างหน้า

นอกจากนั้น เต็ดตรา แพ้ค ยังสนับสนุนการพัฒนาโซลูชันหมุนเวียนทรัพยากร ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่สามารถรีไซเคิลได้ และขยายการจัดเก็บและรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เพื่อเพื่อดึงวัสดุที่ใช้แล้วออกจากหลุมฝังกลบ สำหรับในประเทศไทย เต็ดตรา แพ้ค ได้ขับเคลื่อนโครงการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ทำให้มีการรวบรวมกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วกลับมารีไซเคิลได้มากกว่า 3,900 ตันในปี 2566 อีกทั้ง บริษัทฯ ยังจับมือกับพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมเดียวกันในการก่อตั้งเครือข่ายองค์กรความร่วมมือจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน(Packaging Recovery Organization Thailand Network) หรือ “PRO-Thailand Network” เพื่อส่งเสริมการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนในประเทศอีกด้วย

โครงการเก็บกล่องสร้างบ้านเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของโครงการที่นำแนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่และการสร้างความยั่งยืนในสังคมมาปรับใช้ ภายในปี 2566 สามารถรวบรวมกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วได้มากกว่า 50 ตัน จากจุดรับกล่องของพันธมิตรกว่า 150 แห่ง โดยนำมาผลิตเป็นแผ่นหลังคา วงกบประตู และแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ เพื่อนำไปช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยในประเทศไทย

GreenShelterTP1

คุณปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เต็ดตรา แพ้ค ตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายด้านความยั่งยืนที่แข็งแรงและมีประสิทธิภาพ การก่อตั้ง PRO-Thailand Network และความสำเร็จของโครงการเก็บกล่องสร้างบ้าน ที่ได้นำกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วกลับสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นตัวอย่างของความมุ่งมั่นของเรา เราตั้งเป้าที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในห่วงโซ่คุณค่าทั้งในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตอาหาร ผู้จัดจำหน่าย ผู้กำหนดนโยบาย ไปจนถึงผู้บริโภค เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่อาหาร ผู้คน และโลกต่อไป”

Patinya Silsupadol, Head of Sustainability, Tetra Pak

รายงานความยั่งยืนประจำปี 2566 ยังกล่าวถึงความสำเร็จอื่นๆ ของ เต็ดตรา แพ้ค ในปีที่ผ่านมา รวมไปถึงโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อปกป้องอาหาร ผู้คน และโลก ได้แก่:

  • การขยายโครงการโภชนาการในโรงเรียน: บริษัทฯ มีส่วนช่วยให้เด็กนักเรียนกว่า 64 ล้านคนใน 49 ประเทศได้เข้าถึงนมและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการผ่านโครงการโภชนาการในโรงเรียน
  • การเร่งขับเคลื่อนการรีไซเคิล: มีการรวบรวมกล่องเครื่องดื่มกลับมารีไซเคิลเพิ่มสูงขึ้นกว่า 7% ทั่วโลกเมื่อเทียบกับปี 2565 โดยการรีไซเคิลเศษพลาสติกและอะลูมิเนียมหรือ polyAl7 เพิ่มขึ้นถึง 14%8
  • การได้รับการยกย่องเป็นองค์กรชั้นนำด้านการดำเนินงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ: เต็ดตรา แพ้ค ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับ 'A List' ด้านป่าไม้ของซีดีพี (CDP) หรือ Carbon Disclosure Project เป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน นอกจากนี้ ยังจัดอยู่ในระดับ “A-” ในด้านความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ ซึ่งนับเป็นปีแรกของซีดีพีที่มีการทำรายงานในด้านนี้
  • การดำเนินการอย่างแข็งขันตามหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs)

อ่านรายงานความยั่งยืนผลสรุปของปี 2566 ฉบับเต็ม ได้ ที่นี่
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเก็บกล่องสร้างบ้านเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ได้ ที่นี่
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ เครือข่าย PRO-Thailand ได้ ที่นี่

 1 ปีงบประมาณ 2566 ระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566

 2 ขอบเขต 1, 2 และ 3. ขอบเขต 1 ครอบคลุมการปล่อยก๊าซโดยตรงจากแหล่งที่มาของตนเองหรือแหล่งที่ควบคุมได้ ขอบเขตที่ 2 ครอบคลุมการปล่อยก๊าซทางอ้อมจากการผลิตไฟฟ้า ไอน้ำ เครื่องทำความร้อน และความเย็นที่ซื้อโดยบริษัทที่มีการรายงาน ขอบเขตที่ 3 รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท

 3 ขอบเขตที่ 1, 2 และการเดินทางเพื่อธุรกิจ – เทียบกับปี 2562

 4 ขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 - เปรียบเทียบกับปี 2562

 5 เครื่องคำนวณคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับกล่องของ Tetra Pak ที่ได้รับการรับรองจาก Carbon Trust™ เวอร์ชัน 9 (ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566) ขอบเขต: การวัดตั้งแต่กระบวนการแรกจนถึงกระบวนการสุดท้ายของกล่อง Tetra Brik® Aseptic 200 Slim Leaf ที่ใช้โพลีเมอร์จากพืชในการเคลือบและชั้นปกป้องที่ทำจากเยื่อกระดาษ เปรียบเทียบกับกล่อง Tetra Brik® Aseptic 200 Slim Leaf แบบมาตรฐาน ภูมิศาสตร์: ข้อมูลอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป

 6 ความมุ่งมั่นของเต็ดตรา แพ้ค คือการสร้าง "บรรจุภัณฑ์อาหารที่ยั่งยืนที่สุดในโลก" ซึ่งหมายถึงการพัฒนากล่องจากวัสดุทดแทนหรือวัสดุรีไซเคิลที่มาจากแหล่งที่จัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ ช่วยปกป้องและฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ ทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ลดปริมาณคาร์บอนจากการผลิตและการจัดจำหน่าย ให้ความสะดวกและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ช่วยให้ระบบอาหารมีความยืดหยุ่น และสามารถรีไซเคิลได้ทุกส่วน

 7 ส่วนประกอบที่ไม่ใช่เยื่อกระดาษของกล่องเครื่องดื่มเรียกว่า polyAl ซึ่งประกอบด้วยชั้นของโพลีเอทิลีนและอะลูมิเนียมที่ใช้เป็นเกราะป้องกันออกซิเจนและความชื้น เพื่อปกป้องอาหารภายในบรรจุภัณฑ์กล่องปลอดเชื้อ

 8 สำหรับกล่องเครื่องดื่มที่รายงานว่าถูกนำไปรีไซเคิล เราจะใช้ข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น หน่วยงานของรัฐ องค์กรฟื้นฟูที่จดทะเบียน สมาคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ (หากมี) โดยรายงานที่ทำเป็นประจำตามแนวทางที่สอดคล้องกัน

ข้อมูลเกี่ยวกับ เต็ดตรา แพ้ค กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ https://www.tetrapak.com/en-th

 

หากสื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด
ฐาปนี จันทร์หอม
ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์: +662-018-3000
tapanee.junhom@tetrapak.com

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ (วีโร่ ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์)
นิธิกานต์ ลดาเสถียร
โทรศัพท์: +66-81-877-7674

nitikarn@vero-asean.com หรือ tetrapakTH@vero-asean.com

Images for download

Mitigating climate impact

Mitigating climate impact

The Green Shelter Project

The Green Shelter Project

Patinya Silsupadol, Head of Sustainability, Tetra Pak (Thailand)

Patinya Silsupadol, Head of Sustainability, Tetra Pak (Thailand)

The Araucaria conservation programme

The Araucaria conservation programme